วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว




นางสาว นริศรา สรรพสังเกตุ

ชื่อเล่น อัง

เกิดวัน อาทิตย์ ที่ 23 กันยายน 2533

เรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช

โทร 084-1852028

คติประจำใจ

" ท้อได้แต่อย่าถ้อย"

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

การควบคุมคุณภาพ (Quality)















ความสำคัญของการการควบคุมคุณภาพ (QUALITY CONTROL) - QC
เป็นส่วนหนี่งของการบริหารการผลิต เป็นสิ่งที่ตลาดผู้บริโภคต้องการ ลูกค้าต้องการสินค้าที่มีคุณภาพตลาดในปัจจุบันเป็นการตลาดแบบไร้พรมแดน (Global Market) และผู้บริโภคสินค้าทั่วโลกต้องการแต่สินค้าที่มีคุณภาพ (World quest for quality)
ความหมายของคุณภาพคุณภาพ

คำว่า การควบคุมคุณภาพ เป็นการรวมคำสองคำเข้าด้วยกัน คำหนึ่งคือคำว่า การควบคุมตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า“Control” ส่วนอีกคำหนึ่งคือ คำว่า คุณภาพ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Quality” ซึ่งคำสองคำนี้มีความหมาย ดังนี้ การควบคุม (Control) หมายถึง การบังคับให้กิจกรรมต่าง ๆ ได้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ( เปรื่อง กิจรัตน์ภร, 2537 : 202) ส่วนคำว่า คุณภาพ (Quality) หมายถึง ผลผลิตที่มีความเหมาะสม ที่จะนำไปใช้งาน (Fine ness for use) ออกแบบได้ดี (Quality of design) และมีรายละเอียดที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด (ศูนย์อบรม กฟภ. 2531 : 14) เธียรไชย จิตต์แจ้ง (2530 : 666) ได้ให้ความหมายของการควบคุมว่าหมายถึง กิจกรรมจำเป็นต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลตลอดไป นอกจากนี้ วิชัย แหวนเพชร (2536 : 111) ยังได้ให้ความหมายของคุณภาพไว้ดังนี้ คุณภาพคือ ผลิตภัณฑ์มีความคงทน มั่นคง มีสภาพดีสามารถใช้และทำงานได้ดีรวมทั้งมีรูปร่างสวยงามเรียบร้อยกลมกลืน ทำให้น่าใช้ด้วย
กล่าวโดยสรุปแล้ว คุณภาพหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบได้เหมาะสมในงานได้ดี กระบวนการผลิตดี มีความคงทน สวยงามเรียบร้อย และมีรายละเอียดเป็นไปตามข้อกำหนดของผู้สั่งซื้อที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังจะต้องมีความปลอดภัยในการใช้งานด้วย
ความหมายของคุณภาพ (กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์, 2542, หน้า 20-21) การที่ผลิตภัณฑ์จะมีคุณภาพที่ดี จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การปฏิบัติงานได้ (Performance) ผลิตภัณฑ์ต้องสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้
2. ความสวยงาม (Aesthetics) ผลิตภัณฑ์ต้องมีรูปร่าง , ผิวสัมผัส , กลิ่น , รสชาติ , สีสัน ที่ดึงดูดใจลูกค้า
3. คุณสมบัติพิเศษ (Special Features) ผลิตภัณฑ์ควรมีลักษณะพิเศษที่โดดเด่นแตกต่างจากผู้อื่น
4. ความสอดคล้อง (Conformance) ผลิตภัณฑ์ควรมีความเสี่ยงอันตรายในการใช้น้อยที่สุด
5. ความปลอดภัย (Safety) ผลิตภัณฑ์ควรมีความเสี่ยงอันตรายในการใช้น้อยที่สุด
6. ความเชื่อถือได้ (Reliability) ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ
7. ความคงทน (Durability) ผลิตภัณฑ์ควรมีอายุใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง
8. คุณค่าที่รับรู้ (Perceived Quality) ผลิตภัณฑ์ควรสร้างความประทับใจ และมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาลูกค้า
9. การบริการหลังการขาย (Service After Sale)

ธุรกิจมีการบริหารหลังการขายที่ต่อเนื่องทำให้สินค้าสามารถคงคุณสมบัติหรือหน้าที่การงานที่สมบูรณ์ต่อไปได้ รวมทั้งบริการในการรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ด้วยคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ต้องการ แต่อย่างไรก็ดี มุมมองด้านคุณภาพในสายตาของผู้ผลิตและผู้ใช้แตกต่างกัน เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการใช้สอยผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ย่อมแตกต่างกับพันธกิจ (Mission) ในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต ดังนั้นจะสรุปทัศนะของผู้ผลิตกับลูกค้าในแง่ของคุณภาพได้ดังต่อไปนี้

สำหรับ ลูกค้า คุณภาพที่ดีหมายถึง
ก. ผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้ดีตาม Specification ที่ระบุไว้
ข. ผลิตภัณฑ์คุ้มค่ากับเงินหรือราคา ที่ลูกค้าจ่ายเพื่อจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นมา
ค. ผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ โดยมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม
ง. ผลิตภัณฑ์มีการบริการประกอบเพื่อความสะดวกของลูกค้า หรือเพื่อรักษาสภาพสมบูรณ์ของสินค้าให้คงอยู่ในช่วงระยะเวลาการใช้งานได้ตลอด
จ. ผลิตภัณฑ์สร้างความภาคภูมิใจ ความประทับใจให้แก่ผู้ใช้



สำหรับ ผู้ผลิต คุณภาพที่ดีหมายถึง
ก. การผลิตให้ถูกต้องตั้งแต่แรก
ข. การผลิตที่มีระดับของของเสียอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเป็น Zero Defects ซึ่งถึงไม่มีของเสียจากผลิต
ค. การผลิตตามตัวแปรที่ต้องการอย่างถูกต้อง ไม่เบี่ยงเบนจากมาตรฐานที่ตั้งไว้
ง. การผลิตที่มีระดับต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ลูกค้าที่มีความต้องการสามารถซื้อได้ในระดับราคาที่ยอมรับได้

เมื่อคำนำสองคำมารวมกันคือ การควบคุมและคำว่าคุณภาพก็จะได้คำว่า การควบคุมคุณภาพ (Quality control) วิชัย แหวนเพชร (2534 : 112) ยังได้ให้ความหมายของการควบคุมคุณภาพไว้ว่า เป็นการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้ผลผลิตอันได้แก่ สินค้า บริการ มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานได้ดี กิจกรรมดังกล่าวนั้นได้แก่ การควบคุมวัตถุดิบ การออกแบบ และกระบวนการผลิต วินิจ วีรยางกูร (2523 : 213) ยังได้ให้ความหมายการควบคุมคุณภาพไว้อีกว่า เป็นการจัดการควบคุมวัตถุดิบและการควบคุมการผลิต เพื่อป้องกันไม่ให้ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีข้อบกพร่องและเกิดการเสียหาย นอกจากนี้ ความหมายของการควบคุมคุณภาพที่ให้ไว้ในคู่มือ ( MIL - STD - 109 ) คือ การบริหารงานในด้านการควบคุมวัตถุดิบ และการควบคุมการผลิตเพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จออกมามีข้อบกพร่องและเสียหายนั่นเอง (เสรี ยูนิพนธ์ และคณะ 2528 : 12) เปรื่อง กิจรัตน์ภร (2537 : 202) ยังได้ให้ความหมายของการควบคุมคุณภาพว่า หมายถึงการบังคับให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดคุณลักษณะเอาไว้ เช่น การคัดเลือก การตรวจสอบวัตถุดิบ การควบคุมกระบวนการผลิต ควบคุมพนักงาน รวมทั้งการตรวจสอบผลิตภัณฑ์และทดสอบผลผลิตด้วย
กล่าวโดยสรุปแล้ว การควบคุมคุณภาพ หมายถึง การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ผลิตออกมาดีเป็นไปตามแบบ มีความประณีต เรียบร้อย สวยงาม นำไปใช้งานได้ดี สะดวก และเหมาะสมกับราคากิจกรรมดังกล่าวก็คือ กิจกรมการคัดเลือกวัตถุดิบ กิจกรรมในกระบวนการผลิต กิจกรรมการตรวจสอบและทดสอบผลผลิต เป็นต้น

คุณลักษณะและประโยชน์ของการใช้งาน
โดยรวมของผลิตภัณฑ์ ที่จะทำให้สามารถตอบสนองการใช้งานได้ หมาะสมสำหรับการใช้งาน สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการ ส่วนประกอบทั้งหมดของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ทั้งด้านการตลาด วิศวกรรม การผลิต และการซ่อมบำรุง ที่ตรงกับความคาดหวัง และความต้องการของลูกค้า สอดคล้องกับมาตรฐานซึ่งเป็นที่ต้องการและคาดหวัง (ของลูกค้า) มาตรฐานสินค้าในประเทศ ใครเป็นผู้กำหนด ?สำหรับในประเทศไทย ได้กำหนดมาตรฐานแห่งชาติ โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) Hays และRomig ซึ่งเป็นผู้เช่ยวชาญด้านการควบคุมคุณภาพ
คุณภาพออกเป็น 4 ชนิด คือ

คุณภาพบ่งกล่าว (Stated Quality) เป็นคุณภาพที่กำหนดในสัญญาซื้อขาย ระดับคุณภาพจะถูกกำหนดขึ้นโดยการคาดหมายของผู้ซื้อ(Specification)
คุณภาพแท้จริง (Real Quality) คิอคุณภาพที่แน่นอนของผลิตภัณฑ์ เริ่มจากการผลิต จนกระทั่งสินค้าหมดอายุ

คุณภาพโฆษณา (Advertised Quality) คุณลักษณะต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำหนดโดยผู้ผลิต หรือผู้ขายเป็นผู้กล่าวถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อกล่าวอ้างสรรพคุณ หรือรับประกันคุณภาพกับลูกค้าเชิงการค้า

คุณภาพจากประสบการณ์ (Experience Quality) คุณภาพที่เกิดจากประสบการณ์ของผุ้ใช้เอง คุณภาพจะมีอายุยาวนานหรือไมขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ถ้าผู้ใช้ลิตภัณฑ์นั้นได้ยาวนานกว่าคุณภาพที่ประกันคุณภาพไว้ ผู้ใช้ก็จะมีการบอกต่อไป
แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
รัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐบาล สำหรับกรณีของประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดมาตรฐานเป็น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม- มอก. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยการกำหนดคุณภาพของตัวสินค้าชนิดเดียวกันให้เป็นคุณลักษณะ (Specification) เดียวกัน
ผู้ผลิต จะกำหนดข้อกำหนดสรรพคุณ การใช้ (Function) สำหรับเป็นมาตรฐานสินค้า เพื่อให้ลุกค้าเกิดความเชื่อถือในสินค้าที่ผลิตขึ้นมาได้ ผู้บริโภค จำกำหนดข้อกำหนดของสินค้าให้กับผู้ผลิต เพื่อให้ผู้ผลิตกำหนดมาตรฐานการผลิตให้ผู้บริโภคเกิดความพอใจในสินค้านั้น และซื้อมาใช้ด้วยความมั่นใจ
กรณีผู้กำหนดมาตรฐานสินค้าระดับสากล
ผู้กำหนดมาตรฐานสินค้าที่เพิ่มขึน คือ องค์การเกี่ยวกับมาตรฐานสากล เช่น ISO และหน่วยงานของแต่ละประเทศในโลก ทั้งนี้เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ ตลอดจนมีวัตถุระสงค์ให้สินค้าที่มีจำหน่ายได้มาตรฐานเดียวกัน หน่วยงานที่จัดการแข่งขันรางวัลด้านคุณภาพที่เรียกว่า QC Prize, Malcolm Bridge และASQC (ของอเมริกา) เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านการพัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น เหตุผลและความจำเป็นสำหรับการควบคุมคุณภาพ

ในกระบวนการผลิตสินค้าใด ๆ ส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดผลผลิตที่ดี คือ คน (MAN) เป้นองค์ประกอบหนึ่งในการผลิต ที่ทำให้เกิดความผั การผันแปรเนื่องมาจากแรงงาน และการจัดการ การผันแปรด้านแรงงาน เกิดจากการขาดควาชำนาญ ความเบื่อหน่ายในการผลิต ขาดการอบรมอย่างถูกต้อง สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ขาดคุณภาพที่แน่นอน
การผันแปรด้านการจัดการ เป็นความผันแปรหนึ่งเนื่องมาจากคน ถ้าการจัดการขาดการวางแผนที่ดีทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการอยู่เสมอ ผู้ปฎิบัติก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับระบบงานได้ ส่งผลให้การผลิตขาดความแน่นอน เครื่องจักร (MACHINES) เป็นส่วนประกอบของการผลิต ที่ทำให้เกิดความผันแปรในการผลิตได้ เพราะในขณะที่เครื่องจักรที่ใช้ไปนานจะเกิดการสึกหรอ ถ้ามีการชำรุดมากจะเกิดผลให้ต้องหยุดผลิตที่เรียกว่า Machines run down หรือถ้าเครื่องจักรเพียงเกิดการคลาดเคลื่อน จะมีผลต่อผลิตภัณฑ์การควบคุมการผลิตในส่วนของเครื่องจักรนี้ จะต้องหมั่นตรวจสอบสภาพเครื่องจักร แกัไข และซ่อมบำรุงให้ดีอยู่เสมอ ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดคือหลักการ Preventive Maintenance หรือการบำรุงรักาาเชิงป้องกัน วัตถุดิบ (Raw Materials) เป็นองค์ประกอบของการผลิต ถ้าวัตถุดิบขาดคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้อาจจะขาดคุณภาพด้วย การควบคุมคุณภาพอาจจะต้องควบคุมคุณภาพวัตถุดิบด้วย และต้องตรวจสอบความผันแปรของวัตถุดิบ (โดยเฉพาะวัตถุดิบที่เป็นสินแร่) เช่น ความชื้นมาตรฐาน การปะปนของส่วนประกอบอื่น
สรุป : การควบคุมส่วนต่าง ๆ ที่เป็นตัวแปร (Variable) ข้างต้น ควรประกอบด้วยการวางแผนที่ดี ปฏิบัติตามแผนที่กำหนด พร้อมที่จะตรวจสอบปรับปรุงแก้ไข องค์ประกอบหรือตัวแปรทั้ง 3 ส่วน ถ้าควบคุมได้จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่ดี

โดยทั่วไปสินค้าในตลาดจะมีราคาแปรผันตามคุณภาพสินค้า สินค้าคุณภาพดีย่อมมีราคาสูงกว่าสินค้าคุณภาพไม่ดี คุณภาพของสินค้าในอดีตมีความหลากหลาย และแตกต่างกันมาก สินค้าบางอย่างที่จำหน่ายในท้องตลาดขาดคุณภาพ หรือคุณภาพต่ำไม่เหมาะสมกับราคา รัฐบาลจึงได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้าขึ้น เพื่อควบคุมคุณลักษณะต่าง ๆ ของสินค้า เช่น ลักษณะทางกาย ได้แก่ ขนาด น้ำหนัก สี ฯลฯ ลักษณะทางเคมี ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นลักษณะต่าง ๆ เป็นต้น ปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าบางอย่างบางชนิด จะถูกกำหนดคุณภาพในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( ม.อ.ก. ) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของการควบคุม
เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพ



1. การทดสอบตัวอย่าง (Sampling)

2. การทดสอบวัตถุดิบ (Raw material)
3. การทดสอบกระบวนการผลิต (Process)
4. การวิจัยตลาด (Marketing Research)
5. เทคนิคคิวซี (QC)
6. เทคนิค TQM (Total quality management) เป็นหลักการควบคุมคุณภาพโดยใช้เทคนิค TQM คือ
6.1 ฟังลูกค้าหรือผู้รับบริการ
6.2 ฟัง Supplier
6.3 ใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพมีการบันทึกหาแนวทางปรับปรุง
6.4 ให้อำนาจพนักงาน ( Empowerment ) ให้มีส่วนร่วมในการควบคุมคุณภาพ มีระบบการแข่งขันและการให้รางวัล
6.5 มุ่งผลิตสินค้าหรือมุ่งปรับปรุงการให้บริการให้ได้มาตรฐานสากล



7 QC คือ เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพประกอบไปด้วย

1. checksheet

2.Pareto Chart
3.Flowchart
4.Cause and Effect Diagram
5.Histogram
6.Scatter Diagram
7.Summary


เครื่องมือบริหาร 7 แบบ สำหรับควบคุมคุณภาพ (New 7 Tools)

ปัจจุบันการควบคุมคุณภาพได้วิวัฒนาการเข้าสู่การบริหารคุณภาพ โดยรวม(TQM) ซึ่งบุคลากรในทุกแผนกทุกระดับขององค์กรมีส่วนร่วมตั้งแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน และออกแบบพัฒนาสินค้าใหม่ ไปจนถึงผู้ที่จัดการด้านการขายและการบริการหลังการขาย

หลักการพื้นฐานที่สุดอย่างหนึ่งของการบริหารคุณภาพ คือ การควบคุมกระบวนการ ด้วยข้อเท็จจริงที่เป็นข้อมูลตัวเลข อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงที่พอเพียงไม่สามารถแสดงออกได้ด้วยข้อมูลตัวเลขแต่เพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น ความต้องการของลูกค้า ความไม่พอใจของลูกค้า ฯลฯ ไม่สามารถแสดงออกเป็นตัวเลขเป็นได้เพียงคำพูดเท่านั้นซึ่งข้อความที่เป็นคำพูดก็สามารถแสดงออกซึ่งข้อเท็จจริงได้ จึงมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่เป็นคำพูดเช่นเดียวกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขในการบริหารคุณภาพ เครื่องมือใหม่ 7 แบบสำหรับควบคุมคุณภาพ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาให้เป็นวิธีการแสดงข้อมูล ที่เป็นคำพูดในรูปแบบของแผนผัง ซึ่งจะทำให้ทุกคนเข้าใจปัญหาอย่างแจ่มแจ้ง และเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ดำเนินการปรับปรุงอย่างเป็นเชิงรุก (Proactively) โดยการเตรียมการล่วงหน้าสำหรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานของการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพในการบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM) นอกจากนี้เครื่องมือ 7 แบบนี้ยังประยุกต์ใช้กับ QC 7 Tools ได้เป็นอย่างดี


วิธีการ 5 ส. เพื่อการพัฒนาคุณภาพ


สะสาง คือ การแยกให้ชัดระหว่างของที่จำเป็นกับของที่ไม่จำเป็น ของที่ไม่จำ เป็นให้ขจัดออกไป
สะดวก คือ การจัดวางของที่จำเป็นให้ง่ายต่อการนำไปใช้ ทุกคนดูแล้วก็รู้ว่าเป็นอะไร
สะอาด คือ การทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ ให้น่าดูอยู่เป็นนิจ
สุขลักษณะ คือ สภาพหมดจด สะอาดตา โดยรักษา 3ส แรก ให้คงสภาพ หรือ ทำให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
สร้างนิสัย คือ การปฏิบัติให้ถูกต้อง และติดเป็นนิสัย

สะสาง ( SEIRI )
ในการสะสาง เราควรพิจารณาดังนี้
ของไม่ใช้ ไม่มีค่า ถ้าทิ้งได้ก็ควรทิ้งไปเลย
ของไม่ใช้แต่มีค่า ขายโดยทำให้ถูกขั้นตอน
ของที่จะเก็บ หรือของที่ใช้ เก็บแบบมีป้ายบอก

ขั้นตอนการสะสาง
ในขั้นตอนที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน โรงงาน คลังพัสดุ ฯลฯ ใช้ได้เหมือนกันหมดแต่ต้องระลึกไว้เสมอว่า การที่จะสะสางอะไรจากหน่วยงาน ขอให้แน่ใจเสียก่อน ไม่ขัดต่อกฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งเมื่อแน่ใจว่าสามารถสะสางได้ ก็ลงมือตามขั้นตอนดังนี้
สำรวจ สิ่งของต่างๆ ในหน่วยงาน โดยเฉพาะอาณาบริเวณที่อยู่ในความรับผิดชอบ
แยก ต้องเริ่มแยกแยะของที่ต้องการใช้กับของที่ไม่ต้องการใช้งานออกจากกัน
ขจัด ของที่ไม่ต้องการ หรือของที่มากเกินความจำเป็น จุดที่ควรให้ความสนใจ ในการสะสาง " ทุกจุดบริเวณที่ทำงาน "

ประโยชน์ที่ได้จากการสะสาง
ขจัดความสิ้นเปลืองของทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นคน เงินทุน วัตถุดิบ ฯลฯ
ลดปริมาณสินค้าคงคลังให้มีเท่าที่จำเป็นจริงๆ
ขจัดการใช้วัสดุอุปกรณ์ ชั้นวางของ ตู้เก็บเอกสารอย่างเปล่าประโยชน์
เหลือเนื้อที่ใช้สอยไปทำอย่างอื่นได้
ที่ทำงานดูกว้าง และโล่งขึ้น สะอาดตามากขึ้น พนักงานมีสุขภาพจิตที่ดี
ลดเวลาในการเช็คสต็อค
เงินที่ได้จาการขายของเก่าเก็บ
ลดการเก็บเอกสารซ้ำซ้อน
ขจัดความผิดพลาดจากการทำงาน
ขจัดสภาพแวดล้อมไม่ดี ฯลฯ


สะดวก ( SEITON )
การทำ " สะดวก " นั้นไม่ยาก เพียงแต่เรานำของที่ได้จาการสะสางในส่วนของของที่ต้องการเก็บ มาจัดเก็บให้เป็นระเบียบ สะดวกในการหยิบใช้สอย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการศึกษาหาวิธีเก็บวางสิ่งของ โดยคำนึงถึง
คุณภาพ
ประสิทธิภาพ
ความปลอดภัย
สำหรับหลักการสามารถแยกเป็นหัวข้อดังนี้
*วางของที่ใช้งานให้เป็นที่ มีป้ายบอก
*การนำของไปใช้งาน ให้เน้นการนำมาเก็บที่เดิม
*ของที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ ควรวางใกล้ตัว
*ของที่ใช้งานให้จัดเป็นหมวดหมู่ เหมือนการจัดเก็บหนังสือในห้องสมุด ทำไมต้องทำให้สะดวก
*การปฏิบัติเพื่อความสะดวกนั้น จะช่วยขจัดการค้นหาต่างๆ ให้หมดสิ้นไปแน่นอน เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมีป้ายชื่อบอก และมีป้ายบอกว่าวางที่ไหน รับรองคุณจะหามันได้ในเวลาไม่นานเลย "เพราะอะไรเราจึงต้องค้นหา" คำตอบง่ายมากคือ
*มีของที่เราไม่ต้องการปะปนอยู่มาก
*วางไม่เป็นที่เป็นทาง
*ไม่ได้แสดงบอกไว้ว่าสิ่งของนั้นอยู่ตรงไหน
*ใช้แล้วไม่เก็บไว้ที่เดิม
*และอีกหลายๆ เหตุผล ในสำนักงานทำ " สะดวก " กันอย่างไร

กำหนดมาตรฐานจำนวนอุปกรณ์สำนักงานที่ควรมีประจำโต๊ะทำงานของแต่ละคน ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความต้องการแตกต่างกัน เช่น แผนกเขียนแบบ อาจต้องการมีดินสอเป็นจำนวนมากว่าแผนกอื่น ซึ่งในพื้นที่จะต้องตกลงกันเอง แล้วให้ยึดเป็นมาตรฐานที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม
อุปกรณ์สำนักงานดังกล่าวมักหายประจำ ให้เขียนชื่อผู้เป็นเจ้าของติดที่อุปกรณ์เหล่านั้นทุกชิ้น
ตู้เอกสาร ชั้นวางของในพื้นที่ หรืออาณาบริเวณในความรับผิดชอบของกลุ่ม ให้ติดชื่อผู้รับผิดชอบตู้ ชั้นวางของ กระถางต้นไม้ ฯลฯ เหล่านั้น ในโรงงาน คลังพัสดุ ทำ " สะดวก " กันอย่างไร
เน้นการใช้ป้ายต่างๆ เข้าควบคุม สร้างการบริหารด้วยตา วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร รถยก ต้องติดชื่อผู้รับผิดชอบ
แบ่งเขต ทาสี ตีเส้นแบ่งช่องทางเดินของรถยกและคนแยกจากบริเวณพื้นที่การผลิตหรือพื้นที่เก็บของ ประโยชน์ที่ได้จากเรื่องสะดวก
*ขจัดการค้นหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ
*ลดเวลาในการทำงาน
*เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
*ตรวจสอบสิ่งต่างๆ ง่ายขึ้น หายก็รู้ ดูก็งามตา
*เพิ่มคุณภาพสินค้า เกิดภาพพจน์ที่ดีขององค์การต่อสายตาคนทั่วไป
*สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี
*สร้างสภาพการบริหารงานด้วยตา
*ขจัดอุบัติเหตุ


สะอาด ( SEISO )
สภาพของความสะอาดในที่ทำงานมีส่วนช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ปกติแล้วเราทำงานอยู่ในที่ทำงานของเรา ความคุ้นเคยกับสภาพที่เป็นอยู่ ความจำเจที่เห็นสภาพที่ทำงานของเราอยู่ทุกวันๆ จะเป็นตัวสร้างกำแพงหรือเกราะกำบังอย่างหนึ่งขึ้นมา ทำให้เรามองข้ามปัญหาที่พบอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือ ปัญหาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของทีทำงานของเราเอง บางครั่งมีหน่วยงานภายนอกมาติดต่อราชการเขาอาจกลบไปพูดได้ว่า " ที่นั่นสำนักงานรกจัง " แต่ถ้าเราลองตามไปที่ทำงานของเขา บางครั้งอาจจะพบว่า ที่ทำงานของเขารกรุงรังกว่าเราหลายเท่าก็เป็นได้ขั้นตอนการทำความสะอาด
*จุดที่ให้ความสนใจในเรื่องความสะอาด
*ตามพื้น ฝาผนัง บริเวณมุมอับของห้อง
*ด้านบนและใต้โต๊ะทำงาน ชั้นวางของ ตู้เอกสาร
*บริเวณเครื่องจักรอุปกรณ์ และที่ตัวเครื่องจักร
*เพดาน มุมเพดาน
*หลอดไฟ ฝาครอบหลอด
*ทุกๆ อย่าง รอบๆ ตัวเรา ประโยชน์ทีได้รับจาการทำความสะอาด
*เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี น่าทำงาน
*ขจัดความสิ้นเปลืองของทรัพยากร
*เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร อุปกรณ์ ลดปัญหาเครื่องจักรเสียบ่อย ๆ
*เพิ่มคุณภาพสินค้า

ประเด็นสำคัญในการที่ณรงค์ให้ทุกคนรักษาความสะอาด คือ หัวหน้าต้องลงมือทำก่อน


สุขลักษณะ ( SEIKETSU )
สุขลักษณะที่ดี จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราทำ 3ส แรก อย่างต่อเนื่อง และพยายามปรับปรุงให้ดียิ่งๆขึ้นไปเพื่อที่จะตรวจสอบว่าได้มีการทำ 3ส แรกอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เราใช้การตรวจเช็คพื้นที่อย่างสม่ำเสมอโดยผั้บังคับบัญชาสูงสุดรวมทั้งอนุกรรมการ 5ส ของพื้นที่นั้นๆประโยชน์ที่ได้รับจาการทำสุขลักษณะ
สุขภาพที่ดีของพนักงาทั้งร่างกายและจิตใจ ความภาคภูมิใจในความมีชื่อเสียงของหน่วยงาน ซึ่งเป็นผลจากการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงของพนักงาน สถานที่ทำงาน เป็นระเบียบ สะอาด น่าทำงาน
ความปลอดภัยในการทำงาน คุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์


สร้างนิสัย ( SHITSUKE )
ส ที่ 5 นี้มีจุดสำคัญที่สุดของ กิจกรรม 5ส เพราะกิจกรรมนี้จะไปได้ดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคนที่นำกิจกรรมนี้ไปใช้ ซึ่งความสำเร็จของกิจกรรมเกดจาดทัศนคติที่ดีของพนักงานต่อการปรับปรุงให่ดีขึ้นอยู่เสมอ แน่ใจได้เลยว่าหน่วยงานใดนำกิจกรรม 5ส ไปใช้เพื่อปรับปรุงระบบงาน และสามารถดำเนินกิจกรรมไปได้อย่างต่อเนื่องนั้นจะเป็นหน่วยงานทีมีประสิทธิภาพเต็มไปด้วยพนักงานที่มีคุณภาพ ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ ภาพพจน์ที่ดีของหน่วยงานต่อสายตาคนภายนอก
กิจกรรมนี้ สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดำเนินต่อไปก็คือ ตัวหัวหน้านั่นเอง อย่ากลัวว่าปากจะฉีกถึงใบหู ขอให้หัวหน้าจ้ำจี้จ้ำไชลูกน้องให้คำนึงถึงหลัก 5ส อยู่ตลอด เมื่อเห็นว่าเริ่มจะหย่อนต่อกฏระเบียบ

ประโยชน์ที่ได้จากการสร้างนิสัย
*พนักงานที่มีคุณภาพ มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
*สินค้าที่มีคุณภาพ
*ความเป็นเลิศ
ภาพพจน์ที่ดีของหน่วยงาน




















วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552